WELCOME TO www.9artgallery.com                                                                                ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ www.9artgallery.com





9Art Gallery/ Architect Studio : 786/11 Moo.3 Phaholyotin Rd,Wiang,Muang,Chiangrai 57000 : Tel.0-5371-9110 Fax:0-5374-4168,E-mail : artgallery9@hotmail.com



     


ลาบ  ดิบ  เสือ






The Exhibition Of ART  by Sirapob Treeratana / สิรภพ  ตรีรัตน์

Presided over by Mr. Silapavithaya Chiewvicha


ลาบ

เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสานและภาคเหนือ(รวมถึงประเทศลาว) โดยนำเนื้อมาสับให้ละเอียดแล้วคลุกกับเครื่องปรุง

ซึ่งเนื้อที่มาทำลาบเป็นเนื้อหลายชนิด เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อปลา เนื้อหมู และเนื้อนก

นอกจากนี้ยังสามารถลาบสัตว์จำพวก กวาง เช่น ละมั่ง กระจง เก้ง ก็นำมาลาบได้เช่นกัน ลาบนิยมกินคู่กับข้าวเหนียว  


ลาบอีสาน

เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในหมู่คนอีสานอย่างมาก ปรุงโดยการนำเนื้อสัตว์ชนิดต่าง มา สับ ซอยหรือ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

ปรุงแต่งรสชาติด้วย น้ำปลา มะนาว น้ำตาล และ โรย ข้าวคั่ว พริกผง ใบสระแหน่ ต้นหอมซอย มีทั้ง ปรุงแบบสุก และแบบดิบ

หากดิบเรียกว่า ก้อย บางครั้งก็ใส่เครื่องในสัตว์หรือ เลือดสัตว์ลงไปในลาบด้วย เรียกว่า ลาบเลือด เครื่องลาบ จะเป็นพืชพักพื้นบ้าน

หรือในท้องถิ่น ที่พอจะหาได้ เช่น แตงกวา ยอดกระถิน ลิ้นฟ้า ยอดมะกอก ยอดมะเฟือง ยอดมะตูม ยอดสะเดา เป็นต้น

 

ลาบเมือง

ลาบเมืองที่เป็นทางเลือกหนึ่งของอาหารประเภทลาบโดยมีสูตรที่สลับซับซ้อนกว่าลาบอีสานโดยมีสูตรคร่าวๆดังนี้

ตำเครื่องเทศสำหรับทำลาบให้ละเอียดนำหมูหรือเนื้อมาคลุกกับเลือดสด

หลังจากนั้นผสมกับกับเครื่องเทศที่ตำไว้สุดท้ายนำไปคั่วให้สุก


เสือ

(อังกฤษ: Tiger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ ฟิลิดี (อังกฤษ: Felidae) ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว

โดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า

ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม

รูม่านตา
กลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า

เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีตา

้ เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีเสืออยู่

ประมาณ 37ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย

เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม

ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว

ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม

แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน

เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง

ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี

เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ

ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย

ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง

ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น

เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง

และระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย

ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที่สุด

 

 


เสือบุก


เสือบุก 1

สื่อผสม, 30 × 30 cm.



เสือบุก 2

สื่อผสม, 30 × 30 cm.

 


เสือบุก 3

สื่อผสม, 30 × 30 cm.



เสือบุก 4

สื่อผสม, 30 × 30 cm.

 


เสือบุก 6

สื่อผสม, 30 × 30 cm.



เสือบุก 7

สื่อผสม, 30 × 30 cm.

 

 

 

 

นางเสือสาว

 


นางเสือสาว 1, สื่อผสม, 80 × 50 cm.

 

นางเสือสาว 2, สื่อผสม, 80 × 50 cm.

 

 


นางเสือสาว 4, สื่อผสม, 80 × 50 cm.


 

นางเสือสาว 5, สื่อผสม, 80 × 50 cm.


ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960-

อินสตอลเลชัน (Installation) หรือเป็นที่รู้จักในภาษาไทยว่า ศิลปะจัดวาง แรกเริ่มปรากฏ

ให้เห็นตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 โดยเริ่มจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

หากแปลคำว่าอินสตอลเลชันแบบตรงตัวจะหมายถึงการติดตั้งซึ่งกินความไปถึงการติดตั้งสิ่งต่าง ๆ

ทั้งที่ใช่และไม่ใช่ศิลปะ แต่ในความหมายที่เฉพาะลงมาในงานศิลปะแบบทัศนศิลป์แล้ว มันคือ

งานศิลปะที่มีตัววัตถุทางศิลปะสัมพันธ์เฉพาะกับพื้นที่ (Site-Specific, ไซต์-สเปซิฟิค )

ในความหมายนี้ อินสตอลเลชัน ถูกทำขึ้นสำหรับพื้นที่เฉพาะนั้นๆ เช่น ทำขึ้นเพื่อติดตั้งในแกลเลอรี

พื้นที่กลางแจ้ง ความสำคัญของผลงานไม่ได้อยู่ที่ศิลปวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งเท่านั้น

แต่ความสำคัญจะอยู่ที่การประกอบส่วนต่างๆ หรือ การจัดสภาพแวดล้อมทั้งหมด อินสตอลเลชัน

เป็นงานศิลปะที่ทำให้คนดูได้ประสบการณ์ในการอยู่ร่วม หรือการมีศิลปะแวดล้อมตัวผู้ดู

เช่นเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังในพื้นที่สาธารณะและศิลปะในสถาปัตยกรรมทางศาสนาต่างๆ

ที่มักจะมีลักษณะการจัดวางทุกอย่างโดยคำนึงถึงองค์รวม

แรกเริ่มของศิลปะประเภทนี้ สามารถสืบค้นกลับไปที่ศิลปะในยุค พ็อพ อาร์ต (Pop Art)

เมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 ชิ้นงานที่ได้รับการกล่าวถึงที่สุดคือ

พื้นที่ที่ อลัน คาโพรว (Allan Kaprow) ทำขึ้นสำหรับงาน แฮ็พเพ็นนิง (Happening)

ของเขา และ งานที่ดูเป็นฉากผสมกับประติมากรรมของ เอ็ดวาร์ด เคียนโฮลซ์ (Edward Kienholz)

งานที่ทำสภาพแวดล้อมเป็นแบบละครเวทีของ เร้ด กลูม (Red Groom)

และผลงานชื่อ Ruckus Manhattan Store ของ เคลส์ โอลเด็นเบิร์ก (Claes Oldenburg )

ที่ใช้ปูนปลาสเตอร์สร้างเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆจัดวางไปทั่วห้อง และ แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol)

ที่ติดภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนสีสดไปทั่วห้องจนกลายเป็นวอลล์เปเปอร์

งานในแนวนี้โดยมากมักจะขายไม่ได้ ทำการสะสมได้ลำบาก โดยมากจะจัดแสดงในระยะเวลาสั้นๆ แล้วแยกส่วน

หลือเพียงเอกสารข้อมูลที่บันทึกเอาไว้เท่านั้น ตลาดศิลปะที่ตกต่ำเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1980

และการฟื้นกลับมาของ คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990

ทำให้ อินสตอลเลชัน เติบโตแพร่หลาย งานแนวนี้บางชิ้นก็สามารถขายได้

โดยมากจะต้องเป็นสถาบันอย่างพิพิธภัณฑ์เท่านั้นที่พอจะมีที่ทางเก็บงานแบบนี้

ในทุกวันนี้คำว่า อินสตอลเลชันบางทีก็ใช้กับงานที่จัดแสดงอย่างถาวร งานจัดวางเฉพาะที่

และงานประติมากรรมแบบสื่อผสมสำหรับติดตั้งในพื้นที่สาธารณะ



ศิลปินในแนวนี้ที่มีชื่อเสียงในตะวันตก มีอาทิเช่น แมทธิว บาร์นีย์ (Mathew Barney)

, โจเซ็พ บอยส์ (Joseph Beuys), คริสเตียน โบลแทนสกี้ (Christian Boltanski)

, โจนาธาน โบรอฟสกี้ (Jonathan Borofsky) , มาร์เซล บรูด์ทิเออรส์ (Marcel Broodthaers ),

โทนี บราวน์ (Tony Brown), คริส เบอร์เด็น (Chris Burden)

, วอลเตอร์ เดอ มาเรีย (Walter de Maria),

เทอร์รี ฟ็อกซ์ (Terry Fox), กีกี สมิธ (Kiki Smith), เจมส์ เทอเรลล์   (James Turrell),

บิล วิโอลา (Bill Viola), เฟร็ด วิลสัน (Fred Wilson)

ตัวอย่างของศิลปะแนวนี้ที่สร้างให้สัมพันธ์กับกายภาพของพื้นที่ที่แสดงงานคือ ผลงานชื่อ 20/50 ในปี 1987

ของ เฟร็ด วิลสัน เปิดแสดงครั้งแรกในแกลเลอรี ต่อมา เดอะ ซาท์ชิ คอลเลคชัน (The Saatchi Collection)

สถาบันทางศิลปะร่วมสมัยชื่อดังของอังกฤษได้จัดซื้อเข้าสู่คลังสะสม ผลงานชิ้นนี้เป็นถังโลหะ

ที่มีความลึกระดับเอวของผู้ใหญ่สร้างให้พอดิบพอดีกับห้อง มีการทำทางเดินแคบๆให้คนเดินเข้าไปดูได้

ภายในถังนี้บรรจุน้ำมันเครื่องสีดำสนิทเอาไว้

ด้วยความเข้มข้นและสีที่ดำสนิททำให้ของเหลวนี้ดูลึกนิ่งสนิทและสะท้อนภาพได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

ผลงานอีกชิ้นเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างงาน อินสตอลเลชัน ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ทั้งมิติทางกายภาพ

มิติของประวัติศาสตร์และความหมายของพื้นที่ที่แสดงงาน เจอร์มาเนีย (Germania)

โดย ฮันส์ แฮค (Hans Haacke) ปี 1993 สร้างขึ้นที่อาคารนิทรรศการของประเทศเยอรัมัน

ในนิทรรศการศิลปะชื่อดัง เวนิส เบียนนาเล่ (Venice Biennale) ในปีเดียวกันนั้น ที่ประตูทางเข้าอาคาร

ศิลปินได้แขวนภาพถ่ายขาวดำภาพผู้นำจอมเผด็จการ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เมื่อครั้งมาเยือนนิทรรศการศิลปะของเยอรมนี

ในอาคารแห่งนี้ ในสมัยที่พวกนาซียังเรืองอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายในห้องนิทรรศการนั้นว่างเปล่า

มีแต่เพียงพื้นหินที่ถูกขุดขึ้นมาสกัดแตกกระจัดกระจาย คนดูสามารถเดินย่ำไปบนเศษหินเหล่านั้น

คนดูจะได้ทั้งสัมผัสกับการเดินบนความง่อนแง่นหักพังและยังได้ยินเสียง

การเดินเสียงหินแตกกระทบกันและกันดังสนั่นห้อง

บนผนังโค้งโล่งขาวสะอาดมีเพียงชื่อประเทศเยอรมนีในภาษาอิตาลี

(ในรูปแบบเดียวกับตัวอักษรชื่ออาคารที่ติดอยู่ด้านนอก)

การจัดวางอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่มีการสร้างวัตถุอะไรที่จับต้องได้ มีเพียงภาพฉายกับสถาปัตยกรรมที่มีอยู่แล้ว

และยังจำกัดเวลาการดูเอาไว้แค่ตอนกลางคืนเท่านั้น ในปี 1990 คริซส์ทอฟ โวดิคซ์โค (Krzysztof Wodiczko)

ฉายภาพมือขวาที่ถือปืนพก มือซ้ายถือเทียนไขสีขาว

ตรงกลางเป็นภาพกลุ่มไมโครโฟนที่อยู่ในตำแหน่งคล้ายจ่อปากคนกำลังกล่าวสุนทรพจน์หรือไม่ก็แถลงข่าว

ผลงานชิ้นนี้ทำขึ้นที่ภายนอกของอาคารพิพิธภัณฑ์ เฮิร์ชฮอร์น มิวเซียม (Hirshhorn Museum)

ในวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ศิลปินเชื้อสายโปแลนด์คนนี้ต้องการจะวิพากษ์อำนาจของสถาบัน

โดยใช้อาคารดังกล่าวและภาพต่างๆที่ฉายเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ในการแทนค่าเรื่องราวที่เขาต้องการสื่อสาร

 

 

นางเสือสาว 6, สื่อผสม, 80 × 50 cm.

นางเสือสาว 7, สื่อผสม, 80 × 50 cm.

 

 

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าการจัดวางให้ศิลปะหลายชิ้น หลายสื่อ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นเอกภาพ โดยคำนึงถึง

ความคิดแบบองค์รวม จะมีมานานแล้วในศิลปะไทยประเพณี เช่น การออกแบบและจัดทำศาสนสถาน

อย่างพระอุโบสถในศาสนาพุทธ ที่ซึ่งประติมากรรม (พระพุทธรูป), จิตรกรรม (จิตรกรรมฝาผนัง) และสถาปัตยกรรม

ได้รับการจัดวางอย่างอย่างเป็นเอกภาพ หรือพิธีกรรมที่ชาวบ้านจัดทำขึ้นต่างๆมากมาย อาจจะดูคล้ายกับ อินสตอลเลชัน

ในศิลปะร่วมสมัยที่นำเข้ามาจากตะวันตก

แต่วัฒนธรรมไทยประเพณีและแวดวงศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยก็ไม่เคยที่จะให้การยอมรับว่า “การจัดวาง”

แบบนั้นจะเป็นศิลปะโดยตัวมันเอง และความรู้ใน “การจัดวาง”

ดั้งเดิมแบบนั้นก็ไม่เคยที่จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นรูปแบบทางศิลปะแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันนี้ การแปลคำว่า อินสตอลเลชัน เป็นภาษาไทยว่า “ศิลปะจัดวาง” ได้รับความนิยมแพร่หลายในวงการศิลปะของไทยพอสมควร

จึงเกิดการเรียกใช้ที่ควบคู่กันไปทั้ง อินสตอลเลชัน และ ศิลปะจัดวาง ทุกวันนี้สื่อใหม่ที่มีอายุสิบปีกว่าแล้ว

นี้ได้กลายเป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานที่นิยมทำกันทั่วไปมากขึ้นเรื่อยๆทุกที

 

 

 

 

เสือติดจั่น


เสือติดจั่น 1 , สื่อผสม, 25 × 25 cm.



เสือติดจั่น 2 , สื่อผสม, 25 × 25 cm.

 

 


เสือติดจั่น 3 , สื่อผสม, 25 × 25 cm.


 

 


เสือติดจั่น 4 , สื่อผสม, 25 × 25 cm.



เสือติดจั่น 5 , สื่อผสม, 25 × 25 cm.

 

 

 

 

 



ไว้ลายเสือ

 




 

 

เสือสวาท , สื่อผสม, 25 × 25 cm.

1

2

3



4

 




 

 

 

 

 

 

 

เสือพาดกลอน, สื่อผสม, 20 × 30 cm.

1

2

3

4

5

 

6

7

8

9

10

 


 

 

 

 

เสือสมิง


เสือสมิง 1

สื่อผสม,35× 45 cm.



เสือสมิง 2

สื่อผสม,35× 45 cm.

 

 


เสือสมิง 3

สื่อผสม,35× 35 cm.


เสือสมิง 5

สื่อผสม,22× 25 cm.


 

 

 

 

ตายเพื่อ....

สื่อผสม,10× 20 cm.

ถ่วงดุล....

สื่อผสม,10× 20 cm.

 

ทำลายเศรษฐกิจ

สื่อผสม,10× 20 cm.

นักการเมือง

สื่อผสม,10× 20 cm.

 

เผาบ้าน เผาเมือง

สื่อผสม,10× 20 cm.

เพราะประชาธิปไตย

สื่อผสม,10× 20 cm.

 

เรียกร้อง

สื่อผสม,10× 20 cm.

สงครามกลางเมือง

สื่อผสม,10× 20 cm.

 

หัวใจคนไทย

สื่อผสม,10× 20 cm.

 

 

 

 

 

หนุ่ม สิรภพ ตรีรัตน์ ในแวดวงมิวสิควิดีโอเมืองไทย ย่อมเป็นที่ยอมรับในวงกว้างทั้งด้านฝีมือการกำกับ การควบคุม ART DIRECTION

งานของหนุ่มมักจะล้ำสมัย สวยงาม ไม่เฉลยจนสว่าง มีมุมมืดให้นึกคิดเสมอทำงานสื่อสารส่งเพลงที่มีแต่เนื้อร้อง ทำนอง ให้คนรับสารได้เข้าใจเนื้อเพลงนั้น ๆ ได้อย่างมีปัญญา

จนหนุ่มก้าวขึ้นมาได้รับรางวัล ผู้กำกับมิวสิควิดีโอยอดเยี่ยม ของบริษัท แกรมมี่ และ ผู้กำกับมิวสิควิดีโอ หน้าใหม่ แชนนอลวี

ไทยแลนด์  ได้ร่วมแสดงงานมิวสิควิดีโอ เอเชียที่ฮ่องกง  เป็นพี่ใหญ่ในวงการ

หนุ่ม ยังคงวนเวียนอยู่ในวงการเพลงเมืองไทย ทั้งเป็น ผู้กำกับ ครีเอทีฟ เขียนเพลง ผู้บริหารค่ายเพลง แต่แล้ว หนุ่มก็หันมาจับงานใหม่ที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน

แน่นอน…วงการศิลปะในแวดวงศิลปะ การที่จะแสดงเนื้อแท้และตัวตนให้ผู้ที่เสพงานศิลปะได้รู้จักงาน ได้รู้จักความคิด เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน

ก้าวแรกมักเป็นก้าวที่สำคัญอย่างยิ่ง  กำลังใจ และการกล้าแลก กล้าคิด กล้าทำ และตัวตนของหนุ่ม จะทำให้การเริ่มต้นการทำงานครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

งานนิทรรศการครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ชมงาน จะได้เห็นอีกมิติหนึ่ง ของชายคนนี้ ที่เราชอบเรียกกันเองว่า “หนุ่มมะลิ” เพราะใหม่และ สดเสมอ

 บุษบา ดาวเรือง จงมั่นคง
  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด ( มหาชน )

 

 

 

 

ศิลปินรับเชิญ

 

รับเชิญลาบดิบเสือ_ศิลปวิทยา เชี่ยววิชา

หมูน้ำตก

สีอะคริิลิคบนผ้าใบ,65× 85 cm.

รับเชิญลาบดิบเสือ_พานทอง แสนจันทร์

สว่าง

สีอะคริิลิคบนผ้าใบ,100× 200 cm.

 

 

 

รับเชิญลาบดิบเสือ_ผศ.สุวัฒน์ แสนขัตยรัตน์

จินตนาการเสือ 2010

สีอะคริิลิคบนผ้าใบ,30× 50 cm.

รับเชิญลาบดิบเสือ_สุวิทย์ ใจป้อม

Tigar

เกรยองบนกระดาษ ,70× 100 cm.

 

 

 

รับเชิญลาบดิบเสือ_บรรจบ ปูธิปิน

เสือ 2 ภาค

สีอะคริิลิค,ดินสอไขบนกรัดาษ,36× 48 cm.

รับเชิญลาบดิบเสือ_นพดล ปูธิปิน

เสือ 2 ภาค

สีอะคริิลิคบนผ้าใบ,100× 80 cm.

 

 

 

รับเชิญลาบดิบเสือ_วรวิทย์ เวียงแก้ว

ป.ปลา

สื่อผสม,58× 53 cm.

รับเชิญลาบดิบเสือ_สุจินตน์ สุริยะนภาฤทษ์

ปีเสือสวก

สื่อผสม,40× 70 cm.

 

 

 

รับเชิญลาบดิบเสือ_ดญ.ปัทมปานิ

เสือเพลง

สื่อผสม,35× 50 cm.

 

 

 

 

 

 

ในห้องแสดงงาน